ชุมชนมัสยิดมะซ่อตุ๊ดดีนี๊ยะห์ (ลาดหวาย) ก่อนที่จะมีการก่อสร้างมัสยิดหลังนี้ขึ้นมา สัปปุรุษมัสยิดมะซอฯ ได้ไปละหมาดที่มัสยิดอัลย่ามาอะห์ (คลองใหม่) ในอดีตที่ผ่านมาไม่สะดวกเหมือนปัจจุบัน เราจะไปละหมาดที่มัสยิดอัลย่ามาอะห์ (คลองใหม่) เราต้องเดินทางไปทางเรือหรือไม่ก็รถสองแถวคันใหญ่สมัยอดีต
1.ความเป็นมาของมุสลิมในมุเก่มลาดหวาย
เมื่อประมาณปี พ.ศ.2490 อัลมัรฮูมฮัจยีอิสมาแอล ฮัจยะห์ฮับเซาะห์ มะซอ ได้ซื้อที่ดินจาก นางอับ รมยะสัมริด ซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่าโดยไม่มีหลักฐานอะไรเลย จำนวนที่ดิน 750 ไร่ ในราคาไร่ละ 50 บาท หลังจากซื้อที่ดินไม่นานท่านทั้งสองได้นำลูกน้องมาทำนาในที่ดินดังกล่าว เพื่อแสดงสิทธิครอบครอง ท่านทั้งสองได้ต่อสู้กับบุคคลที่ไม่ใช่พี่น้องมุสลิมเป็นเวลาหลายปีแทบจะเอาชีวิตไม่รอด มีการบุกรุกที่ดิน และต้องขึ้นศาลตัดสินหลายครั้ง ต่อมาประมาณระหว่างปี พ.ศ.2494 - 2495 ท่านทั้งสองได้ขนย้ายบ้านและลูกหลานมาอยู่ที่ตำบลบางเพรียง (ที่ตั้งของมัสยิดในปัจจุบัน) ท่านทั้งสองมีบุตรชาย 3 ท่าน และบุตรหญิง 6 ท่าน โดยมาอยู่รวมกันหมดที่ตำบลบางเพรียงแห่งนี้ เมื่อเวลาผ่านไปหลายปีต่อมาลูกหลานเติบโตแต่งงานมีเหย้าเรือน แต่ส่วนใหญ่ก็อยู่มุ่เก่มนี้ ส่วนมุสลิมอีกส่วนมาจากการจัดสรรที่ดินวากัฟอีก 10 ครอบครัว
2.ประวัติความเป็นมาของมัสยิด
เมื่อประมาณปี พ.ศ.2495 - 2537 มุสลิมและมุสลิมะห์ลาดหวายได้เข้าร่วมเป็นสัปปุรุษของมัสยิดอัลย่ามาอะห์ (คลองใหม่) ต่อมาในปี พ.ศ.2537 โดยประมาณ ฮัจยะห์ฮับเซาะห์ได้วากัฟเงินสร้างบาแล 2 ชั้น ซึ่งเป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ ชั้นบนใช้เป็นสถานที่ละหมาด ส่วนล่างใช้สถานที่สอนหนังสือบุตรหลาน และในต้นปี พ.ศ.2540 (ต้นปี) ฮัจยะห์ฮับเซาะห์ มะซอ ได้บริจาคที่ดินประมาณ 12 ไร่ ซึ่งตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 6 ต.บางเพรียง อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ 10560 และฮัจยะห์ฮับเซาะห์ ยังได้บริจาคเงินสร้างอาคารมัสยิดอีกประมาณ 13 ล้านบาท ใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ 1 ปีเศษ ลักษณะอาคารของัสยิดเป็นตึก 2 ชั้น และได้ทำการเปิดป้ายอาคารมัสยิดในวันที่ 4 ตุลาคม 2541 ที่ผ่านมา
3.มัสยิดมะซ่อตุ๊ดดีนี๊ยะห์ เป็นมุเก่มเล็ก
มีสัปปุรุษ 85 ครอบครัว เป็นชาย 173 และเป็นหญิง 127 คน รวมเป็น 300 คน
4.บุคคลที่ควรยกย่องในอดีตจนถึงปัจจุบัน คือ
อัลมัรฮูมฮัจยีอิสมาแอล ฮัจยะห์ฮับเซาะห์ ซึ่งท่านทั้งสองได้ตั้งรกรากบุกเบิกเป็นมุเก่มแห่งนี้ และต่อสู้ชีวิตแม้มีอุปสรรคมากมาย เพื่อให้ลูกหลานได้มีที่ดินทำมาหากิน พร้อมทั้งที่ดินวากัฟ และงบประมาณในการก่อสร้างมัสยิดเพื่อลูกหลานและพี่น้องมุสลิมในมุเก่มลาดหวายได้ปฏิบัติอิบาดะห์ต่ออัลเลาะห์ (ซ.บ.)ซึ่งลูกหลานทุกคนต้องรำลึกถึงท่านทั้งสองตลอดไป
5.โรงเรียนและครูสอนศาสนาที่มีอยู่ในอดีตและปัจจุบัน
เมื่อประมาณปี พ.ศ.2528 ได้เริ่มสอนศาสนาแก่เยาวชนโดยอาศัยชั้นล่างบ้านฮัจยีการีม บาซอรี และครูซอและห์ หะยียะห์ยา เป็นครูคนแรกที่ดำเนินการสอน และประมาณปี พ.ศ.2538 ได้ย้ายมาสอนที่อาคารบาแลชั้นล่าง หลังจากมัสยิดสร้างเสร็จอาคารบาแลดังกล่าวก็ใช้เป็นอาคารเรียนเรื่อยมา
ปัจจุบันใช้อาคารเรียนโรงเรียนอิสลามสมุทรปราการ (มะซออนุสรณ์)
ปัจจุบันทางคณะกรรมการประจำมัสยิดฯ ได้ก่อสร้างโรงเรียนอิสลามสมุทรปราการ (มะซออนุสรณ์) และศูนย์จริยธรรมอิสลามประจำมัสยิด อาคารหลังที่ 1 วางรากฐานเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2550 โดยเชิญ พณฯ ท่านจุฬาราชมนตรีอาจารย์สวาท สุมาลยศักดิ์ เป็นประธานในพิธี อาคารหลังที่ 1 เปิดทำการสอนตั้งแต่ ม.1 - ม.6 แบบบูรณาการประมาณ 4 ปีที่แล้ว ส่วนอาคารหลังที่ 2 ได้วางรากฐาน เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2555 โดยเชิญ ตร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียนเป็นประธานในพิธี เป็นอาคารคอนกรีตเสิมเหล็ก 4 ชั้น 24 ห้องเรียน โรงเรียนอิสลามสมุทรปราการขณะนี้กำลังเปิดรับสมัครนักเรียนชั้นอนุบาลถึงมัธยมศึกษาปีที่ 4
ครูสอนศาสนาในปัจจุบันมี 4 คน คือครูกอเด็ช เย็นประทธิ์ เป็นครูใหญ่ ครูฮากีม มะซอ ครูบุคอรี กลิ่นมาลัย และครูฮุสนา หะสะเล็ม นอกจากนี้แล้วคณะกรรมการมัสยิดฯ ได้จัดการอบรมมุสลิมในมุเก่ม เสาร์เว้นเสาร์ โดยอาจารย์อับดุลเลาะห์ และเยาะ ระหว่างเวลา 10.00 - 12.00 น. และคุณครูอาบีดีน หะยียะห์ยา สอนนักศึกษาผู้ใหญ่และมู่อัลลัฟทุกวันจันทร์ ระหว่างเวลา 19.00 - 20.00 น.
ปัจจุบันมีนักเรียนในหลักสูตรสมาคมคุรุสัมพันธ์ประมาณ 70 คน
ครูใหญ่คนที่ 1 นายศักดิ์ชัย หะยียะห์ยา
ครูใหญ่คนที่ 2 นายอะหมัด จุ่นบุญ อิหม่ามมัสยิดมะซ่อตุ๊ดดีนี๊ยะห์ปัจจุบัน
ครูใหญ่คนที่ 3 นายกอเด็ช เย็นประสิทธิ์ ซึ่งปัจจุบันนี้ยังดำรงตำแหน่งครูใหญ่อยู่
และคณะครูที่ร่วมทำการสอนในอดีตได้แก่ ครูอิสมาแอล สังข์สว่าง และครูอาบีดีน หะยียะห์ยา
ส่วนนี้คือครูที่ทำการสอนในปัจจุบัน ครูกอเด็ช เย็นประทธิ์ เป็นครูใหญ่ ครูฮากีม มะซอ ครูบุคอรี กลิ่นมาลัย และครูฮุสนา หะสะเล็ม
มัสยิดมะซ่อตุ๊ดดีนี๊ยะห์ ได้ทำการจดทะเบียนมัสยิดในปี พ.ศ.2537 โดยมีอิหม่ามฮาลีม มะซอ คอเต็บอะหมัด จุ่นบุญ บิหลั่นกอเด็ช เย็นประสิทธิ์ และคณะกรรมการมัสยิดในปี 2537
1.นายฮาโรน แอดำ
2.นายการีม บาซอรี
3.นานสนั่น มะซอ
4.นายอาหมัด มะซอ
5.นายนิวัฒน์ มะซอ
6.นายนาลิตร แอดำ
7.นายสาโรจน์ ปาทาน
8.นายอาลี หะยียะห์ยา
9.นายรังสรรค์ ศุมานนท์
10.นายทวีศักดิ์ สุวรรณศาสตร์
11.นายศักดิ์ชัย หะยียะห์ยา
12.นายมานิตย์ มัสเยาะ
คณะกรรมการมัสยิดในอดีตที่ผ่านมาและได้มีส่วนร่วมเป็นกรรมการมัสยิดในอดีตได้แก่ นายกล้าผจญ สังข์สว่าง นายสัญญา มัสเยาะ นายทนงศักดิ์ มิตศิลปิน นายอนันต์ มะซอ นายอำนวย หะยียะห์ยา นายบรรหาร มะซอ นายสนธยา เย็นประสิทธิ์ นายประดิษฐ์ แอดำ นายศรุต หะยียะห์ยา นายศักรินทร์ มะซอ นายอนุวัฒน์ มะซอ นายมนูศักดิ์ สุขวิเศษ นายสมพร เดวาหมัด นายประทีป ยีหวังนิ
และนี่คือรายนามคณะกรรมการมัสยิดในปัจจุบัน ได้แก่
1.นายอะหมัด จุ่นบุญ อิหม่ามประจำมัสยิด
2.นายศักรินทร์ มะซอ คอเต็บ
3.นายกอเด็ช เย็นประสิทธิ์ บิหลั่น
4.นายมนูศักดิ์ สุขวิเศษ เลขานุการ
5.นายศักดิ์ชัย หะยียะห์ยา เหรญญิก (เสียชีวิต)
6.นายสัญญา มัสเยาะ นายทะเบียน
7.นายอาหมัด มะซอ ประธานอำนวยการ
8.นายนิวัฒน์ มะซอ อาคารสถานที่
9.นายรังสรรค์ ศุมานนท์ กิจการฮาลาล (เสียชีวิต)
10.นายประดิษฐ์ แอดำ ทำการดูแลสถานที่วากัฟ
11.นายอำนวย หะยียะห์ยา เซอร์วิส
12.นายบรรหาร มะซอ ประสานงานทั่วไป
13.นายศรุต หะยียะห์ยา วิชาการและการศึกษา
14.นายอนันต์ มะซอ กิจกรรมพิเศษและนันทนาการ
ผู้ดูแลมัสยิด (โต๊ะซีเยาะห์) นายกล้าผจญ สังข์สว่าง