ประวัติ มัสยิดดารุ้ลอามีน (บางโฉลง)
เลขที่ 8 หมู่ที่ 9 ตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
ประวัติมัสยิดดารุ้ลอามีน (บางโฉลง)
ชื่อมัสยิด มัสยิดดารุ้ลอามีน ทะเบียนเลขที่ 8 ตั้งอยู่ ณ.หมู่ที่ 9 ตำบล บางโฉลง อำเภอ บางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
จำนวนสัปปุรุษ มัสยิด ปัจจุบัน (พ.ศ.2558) จำนวนทั้งหมด 99 ครอบครัว
เพศชาย 201 คน
เพศหญิง 242 คน
รวมทั้งสิ้น 443 คน
จดทะเบียนเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2502 เปิดป้ายอาคารสถานฯ เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2503
โดยท่านจุฬาราชมนตรี ต่วน สุวรรณศาสน์ เป็นประธานเปิด ในขณะนั้นมีคณะกรรมการบริหาร 13 ท่าน
รายชื่อคณะกรรมการ 13 ท่านคือ
1. นายหมัดนูร รอมาลี อิหม่าม
2. นายอาลี รอมาลี คอเต็บ
3. นายยาโก๊บ มูฮัมหมัด บิหลั่น
4. นายแอ รอมาลี กรรมการ
5.นายเฮม หมัดแสง กรรมการ
6.นายเหย็บ รอมาลี กรรมการ
7. นายดาวุด มินบุรี กรรมการ
8. นายเปลี่ยน นิมา กรรมการ
9. นายสง่า เงาะไพรวัลย์ กรรมการ
10.นายยา ประเสริฐอาภา กรรมการ
11.นายฟีน ปั้นหยี กรรมการ
12.นายหร่น มิมมา กรรมการ
13.นายโซ๊ะ มินบุรี กรรมการ
เมื่อปี พ.ศ.2535 มีการเปลี่ยนแปลง ผู้ดำรงตำแหน่งคือ
1.นายสุรินทร์ (ฮัจยีอุมัร ) รอมาลี อิหม่าม
2. นายเสงี่ยม (ฮัจยีซำซุดดิน) มิมมา คอเต็บ
3. นายประสาน (ฮัจยีอับดุลลอฮ์) รอมาลี บิหลั่น
มัสยิดก่อตั้ง เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2500 โดยมีคณะบุคคลรวมตัวกันประกอบด้วย
1.ฮัจยีดาวุด มินบุรี
2.นายสง่า เงาะไพรวัลย์
3.ผู้ใหญ่อิบรอเฮม หมัดแสง
4.ฮัจยียะฮ์ยา ประเสริฐอาภา
5.ฮัจยีตอยเย็บ รอมาลี
6.แซ่ใหญ่ เฮงและ
7.นายเปลี่ยน นิมา
8.นายแอ รอมาลี
9.ฮัจยีฮาโรน มิมมา
10.ฮัจยียูโซ๊ะ มินบุรี
และบุคคลอีกจำนวนหนึ่ง ร่วมปรึกษาหารือร่วมมือร่วมใจกันซื้อที่ดินของ ฮัจยีหมัดนูร รอมาลี จำนวน 100 ตารางวา โดยได้รับวาก๊าฟบ้านหลังหนึ่งของ ฮัจยีดาวุด มินบุรี เพื่อเป็นวัสดุในการก่อสร้าง
รายนามบุคคลที่ควรยกย่องในอดีต
ฮัจยีหมัดนูร รอมาลี
ฮัจยีหมัดนูร รอมาลี ดำรงตำแหน่ง อิหม่าม ในขณะนั้น กล่าวคือตั้งแต่จดทะเบียนมัสยิดในปี พ.ศ.2502 ถึง ปี พ.ศ.2535 (ประมาณ 33 ปี) และได้เสียชีวิตขณะดำรงตำแหน่ง นับเป็นเวลายาวนานมาก และในขณะเดียวกันท่านก็ได้เป็นกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสมุทรปราการมาตลอดเช่นกัน นับเป็นบุคคลที่ควรยกย่องในอดีตเป็นอย่างยิ่ง โดยก่อนหน้านั้นท่านเคยดำรงตำแหน่งอิหม่ามมัสยิด คอยรียะตุ้ลอิสลามมียะฮ์(บางกะสี) ปี พ.ศ.2490
ฮัจยีอาลี รอมาลี
ฮัจยีอาลี รอมาลี ดำรงตำแหน่ง คอเต็บ มัสยิดดารุ้ลอามีน ซึ่งท่านผู้นี้เคยเป็นอิหม่ามประจำมัสยิดดีนุ้ลอิสลาม (บางปลา) และชาวมัสยิดดารุ้ลอามีนในขณะนั้นก็เป็นสัปปุรุษของมัสยิดดีนุ้ลอิสลามมาก่อน ต่อมาได้ย้ายบ้านเรือนมาอยู่ที่ตำบลบางโฉลง ก็ได้มาสร้างบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลบางโฉลงแห่งนี้ และได้สร้างมัสยิดดารุ้ลอามีนขึ้น เพราะการคมนาคมในสมัยก่อนนั้น ระยะทางระหว่างมัสยิดดีนุ้ลอิสลามกับชุมชนใหม่ที่ตำบลบางโฉลงนั้นค่อนข้างไกลพอสมควร ไม่สะดวกในการเดินทาง ประกอบกับพาหนะในการเดินทางมีเพียงเรือเท่านั้น จึงได้ร่วมกันจัดสร้างมัสยิดขึ้น แต่ถึงอย่างไรก็ตาม สุสาน (กุโบร์)ก็ยังใช้ร่วมกันกับชาวมัสยิดดีนุ้ลอิสลาม (บางปลา)อยู่เช่นเดิม ซึ่งนับว่า ฮัจยีอาลี รอมาลี ผู้นี้คือบุคคลที่ควรยกย่องในอดีดอีกท่านหนึ่งเช่นกัน
ฮัจยีฮาโรน มิมมา
ฮัจยีฮาโรน มิมมา เป็นอีกท่านหนึ่งที่ควรกล่าวถึงโดย ท่านผู้นี้เป็นผู้บุกเบิกชุมชน ดารุ้ลอามีน แห่งนี้โดยการเจรจาขอซื้อที่ดินจำนวนหนึ่งในพื้นที่ หมู่ 9 ตำบลบางโฉลง เพื่อจัดสรรให้ญาติพี่น้อง สองสกุลคือ มิมมา กับ รอมาลี เมื่อประมาณปี พ.ศ.2492 ได้ย้ายบ้านเรือนจาก หมู่ 10 ต.บางปลา อ.บางพลี มาตั้งหลักแหล่งเป็นครอบครัวแรกใน ตำบลบางโฉลง ต่อมาญาติพี่น้องตามมาอยู่ในที่ที่ตนได้จับจองเป็นเจ้าของไว้ เป็นที่มาของชุมชน ดารุ้ลอามีน ต่อมาปี พ.ศ.2500 ได้มีคณะบุคคลหนึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการชุดแรกที่กล่าวมา ร่วมมือร่วมใจกันบริจาคทรัพย์สิน และสิ่งของ เช่น ฮัจยีดาวุด มินบุรี ได้มอบบ้านตนเองให้ 1 หลังเพื่อเริ่มเป็นต้นทุน ส่วนที่เหลือให้เป็นหน้าที่ ของกรรมการทั้งหมดใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 2 เดือนจึงแล้วเสร็จ
ฮัจยีดาวุด มินบุรี
ฮัจยีดาวุด มินบุรี ได้มอบบ้านตนเองให้ 1 หลังเพื่อเริ่มเป็นต้นทุนในการสร้างอาคารมัสยิด
มัสยิดดารุ้ลอามีน มีเนื้อที่ซึ่งเป็นของมัสยิด จำนวน 1 ไร่ 3 งาน (หรือ 700 ตารางวา) อาคารหลังแรกเป็นอาคารไม้เรือนปั้นหยา 2 ชั้น ส่วนชั้นล่างโปร่ง ขนาด ความกว้าง 8 เมตร ยาว 10 เมตร ชั้นบนเป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจประจำวัน ในส่วนชั้นล่างใช้เป็นสถานที่ อบรมศาสนาแก่เด็ก และ เยาวชน นอกจากนั้นยังใช้เป็นที่อบรมธรรมอิสลาม แก่ผู้ที่สนใจทั่วไปเป็นประจำทุกเดือน โดยมีการเชิญวิทยากรผู้มีความรู้ทางด้านศาสนามาให้การอบรม
การต่อเติมเริ่มขึ้นอีกครั้งเมื่อปี พ.ศ.2505 โดยได้รับการบริจาคจากตระกูลเพชรทองคำ โดยมอบพื้นไม้ทั้งหมด ขนาด 6 x 6 เมตร ส่วนที่เหลือเป็นความร่วมมือร่วมใจของสัปปุรุษมัสยิด และได้มีการบูรณะปรับปรุงมาตลอดเป็นระยะ
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2534 คณะกรรมการและสัปปุรุษได้ร่วมประชุมและมีมติร่วมกันให้สร้างอาคารมัสยิดหลังใหม่แทนหลังเก่าที่เริ่มชำรุด โดยมี อาจารย์กำธร รอมาลี เป็นผู้ออกแบบและร่วมลงทุนในการก่อสร้าง เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียว ขนาดความกว้าง 13 เมตร ยาว 18 เมตร โดยมี อิหม่ามหมัดนูร รอมาลี เป็นประธานการก่อสร้าง แต่ยังมิทันแล้วเสร็จท่านได้ถึงอายั้ลเสียก่อน มัสยิดหลังใหม่ใช้งบประมาณก่อสร้าง 4 ล้านบาทเศษ โดยได้รับความร่วมมือจากมุสลิมในท้องถิ่นรวมทั้งผู้มีจิตศรัทธา บริเวณใกล้เคียงและทั่วไป
การหาทุนมาดำเนินงาน
หาทุนก่อสร้างโดยจัดงานมัสยิด เมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ.2536 คณะกรรมการและสัปปุรุษได้มีความคิดให้จัดงานเพื่อหาเงินทุนมาดำเนินการก่อสร้างต่อเติมในส่วนที่ยังไม่สมบูรณ์ โดยมี อิหม่าม อุมัร รอมาลี เป็นประธานจัดงาน และคณะกรรมการ รวมถึงสัปปุรุษและพี่น้องบริเวณใกล้เคียงร่วมกันจัดงาน วันเมตตาดารุ้ลอามีน ขึ้น
ต่อมาวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2538 ได้รับความอนุเคราะห์จากท่าน สุลัยมาลย์ วงศ์พานิช (วุฒิสมาชิก) ได้ให้เกียรติเป็นประธานในการจัดงาน เพื่อหาทุนโอนที่ดินวาก๊าฟให้แก่มัสยิด และหาทุนมาดำเนินการก่อสร้างมัสยิดที่ยังไม่แล้วเสร็จ เพื่อสนองตอบเจตนารมณ์ของผู้วาก๊าฟ จนได้รับความสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
ปัจจุบันมัสยิดดารุ้ลอามีน มีทรัพย์สินดังนี้
1.ที่ดิน จำนวน 1 ไร่ 3 งาน
2.อาคารมัสยิด (อาคารไม้หลังเก่า) จำนวน 1 หลัง
3.อาคารมัสยิด (อาคารใหม่) จำนวน 1 หลัง
4.โรงเรียน จำนวน 1 หลัง
5.อาคารเอนกประสงค์ จำนวน 1 หลัง
6.อาคารเรียน จำนวน 1 หลัง
ปัจจุบันมัสยิดยังมีที่ดินอีกจำนวนหนึ่งอยู่ในซอยวะก๊าฟ (จำนวน 2 แปลง) ซึ่งมีผู้บริจาค 2 ท่านคือ
1. อัลมัรฮูม ฮัจยะฮฺรอมละฮฺ มิมมา ในนามของ สกุลมิมมา
2. ฮัจยีตอเย็บ ประเสริฐอาภา
โดยที่ดินดังกล่าวผู้บริจาคมีวัตถุประสงค์ให้เป็นที่อยู่อาศัยของมุอฺมิน ผู้ขัดสน เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจและสนามเด็กเล่นสำหรับเยาวชน
ปัจจุบัน ชุมชนมัสยิดดารุ้ลอามีน ใช้กุโบร์ ร่วมกันกับชุมชนมัสยิด ดีนุ้ลอิสลาม (บางปลา)
โครงสร้างการบริหารมัสยิด
การบริหารมัสยิด จะต้องมีการประชุมปรึกษาหารือ
เพื่อมอบหมายงานให้คณะกรรมการแต่ละฝ่ายตำเนินงานตามแผนงานที่กำหนดไว้
คณะกรรมการมัสยิด
นายสุรินทร์ รอมาลี
อิหม่าม (ประธาน)
นายมานพ มินบุรี นายประสาร รอมาลี
คอเต็บ (รองประธาน) บิหลั่น (รองประธาน)
นายทะเบียน เหรัญญิก เลขานุการ
กรรมการฝ่ายการศึกษา กรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรรมการฝ่ายสถานที่ กรรมการฝ่ายปฏิคม
กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ
อาชีพ ของพี่น้อง ชาวดารุ้ลอามีน
ในอดีตอาชีพหลักคือทำนาข้าว ต่อมาเปลี่ยนอาชีพ มาเลี้ยงปลา ผลสุดท้ายได้เกิดน้ำเน่าเสียทำให้ ลูกหลานรุ่นต่อมาเปลี่ยนเป็นหนุ่มสาวโรงงาน และ ประกอบธุรกิจส่วนตัวเป็นส่วนใหญ่
โรงเรียนดารุ้ลวิทยา
โรงเรียนดารุ้ลวิทยา ชึ้นตรงกับมัสยิดดารุ้ลอามีน มีเด็กนักเรียน ทั้งชายและหญิงรวมทั้งสิ้น 50 คน มีครูสอน 2 คน แบ่งออกเป็น 3 ระดับได้แก่ ระดับ 1 ระดับ 2 ระดับ 3 โดยการเรียนการสอนแบ่งเป็น 2 ช่วง
1.วันจันทร์ วันพฤหัสบดี เริ่มเรียนหลังละหมาดมัฆริบ - เลิกเรียนหลังละหมาดอิซา + ประมาณ 30 นาที
2.วันหยุด เสาร์ อาทิตย์ เริ่มเรียนเวลา 9.00 น เลิกเรียน เวลา ละหมาด อัศรี
ปัจจุบันในเรื่องการศึกษา ของเยาวชนมัสยิด ดารุ้ลอามีน ผู้ปกครองเล็งเห็นความสำคัญของการศึกษามากขึ้น ดังนั้นจึงได้สนับสนุนการศึกษาของบุตรหลาน ให้ได้ระดับที่สูงสุดเท่าที่จะมีความสามารถ โดยทำการแบ่งตามระดับการศึกษาดังนี้
ปริญญาเอก 1 คน
ปริญญาโท 2 คน
ปริญญาตรี 26 คน
อนุปริญญา (ปวช/ปวส.) 20 คน
ศึกษาด้านศาสนาชั้นอุดมศึกษา ณ.ต่างประเทศ 5 คน
ศึกษาด้านศาสนาชั้นซานาวีในประเทศ 20 คน
นอกจากสนับสนุนเรื่องการศึกษาให้กับเยาวชน มัสยิดได้มีโครงการร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลบางโฉลงและชุมชน ในการให้การสนับสนุน การจัดตั้งกลุ่มแม่บ้าน โดยให้ใช้สถานที่ในการทำกิจกรรมสอนวิชาชีพ เพื่อช่วยเหลือผู้ว่างงาน หรือมีรายได้น้อย ได้มีอาชีพเสริมเป็นการสร้างรายได้ให้กับครอบครัวและชุมชน ช่วยลดปัญหาการว่างงาน
แนวทาการพัฒนามัสยิด
มัสยิดโครงการก่อสร้างอื่นๆ เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกับมัสยิดหลังใหม่ ประกอบไปด้วย อาคารเอนกประสงค์ หออาซาน ห้องศาสนกิจสำหรับสตรี ห้องน้ำ ห้องสุขา ที่อาบน้ำละหมาด อาคารเรียนสอนศาสนา อาคารศูนย์เด็กเล็ก อนุบาล หลังคาลานเอนกประสงค์ ระหว่างมัสยิด กับ โรงเรียนตลอดจน รั้วมัสยิดและเขื่อนชายคลองตลอดแนว
ปัจจุบันมัสยิด มีอาคารเรียนหลังใหม่ที่สร้างเสร็จแล้ว เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ชั้น ขนาด 9x24 เมตร มีห้องเรียน ห้องวิชาการ (ห้องสมุด) ห้องรับแขก ห้องพักครู ห้องเวชภัณฑ์ และที่ทำการยุวมุสลิม โดยตั้งงบประมาณก่อสร้างไว้ประมาณ 3,000,000 บาทเศษ โดยการอุปถัมภ์ โดยคุณเล็ก นานา อาคารจึงแล้วเสร็จสมบูรณ์
ข้อมูลมัสยิดในจังหวัดสมุทรปราการ
ชื่อมัสยิด...มัสยิดดารุ้ลอามีน
.
ที่ตั้ง..เลขที่ 8 หมู่ที่ 9 ตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
..
สร้างครั้งแรกเมื่อปี........พ.ศ.2500
จดทะเบียนลำดับที่ ......8....... ปี......พ.ศ.2502........
อิหม่ามท่านแรก.....ฮัจยีหมัดนูร รอมาลี......
ปัจจุบัน อิหม่าม....ฮัจยีสุรินทร์ รอมาลี.......
คอเต็บ....ฮัจยีมานพ มินบุรี
บิหลั่น....ฮัจยีประสาน รอมาลี
อิหม่ามในอดีต...
1. ..ฮัจยีหมัดนูร รอมาลี
คณะกรรมการปัจจุบัน (คณะกรรมการชุดปัจจุบันหมดวาระ / รอการคัดเลือกใหม่)
1. .................................................. 6. ..............................................
2. .................................................. 7. ..............................................
3. .................................................. 8. ..............................................
4. .................................................. 9. ..............................................
5. .................................................. 10. ..............................................
องค์กรที่อยู่ในสังกัด
1. โรงเรียน ดารุ้ลวิทยา
2. ชมรมยุวมุสลิม ดารุ้ลอามีน
จำนวนสัปปุรุษ
ชาย.........201.......คน หญิง.....242.....คน..รวมทั้งหมด....443....คน....
จำนวนครัวเรือน...........99.......ครัวเรือน จำนวนร้านอาหารมุสลิม ......4.......ร้าน